https://www.facebook.com/PeopleValue.Co.Th Performance System Manager 5 คุณสมบัติที่ดีสำหรับนักประเมินผล - peoplevalue

Performance System Manager 5 คุณสมบัติที่ดีสำหรับนักประเมินผล

6299 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Performance System Manager  5 คุณสมบัติที่ดีสำหรับนักประเมินผล

Performance System Manager คืออะไร?

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า มีตำแหน่งนี้ด้วยหรือ ไม่เคยได้ยิน

ก็ต้องขอตอบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจะฝากฝังให้ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลดูแลงาน ซึ่งจะมาตื่นเต้นวางแผนเริ่มทำกันต้องใกล้จะทำการประเมินผลปรับเงินเดือนประจำปี ไม่มีการทำพูดคุยหรือติดตามกันอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นถ้าไม่มีคนคอยติดตามเป็นประจำ องค์กรของท่านจะใช้ระบบ MBO , KPIs ,OKR อะไรก็ตาม แต่หากไม่มีคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลควบคุมที่ดี อาจจะทำให้เกิดผลการไม่ประเมินผลไม่ตรงความจริง สุดท้ายกลับไปประเมินผลโดยอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งอาจจะกระทบต่อขวัญกำลังใจของคนดีและคนเก่งในองค์กรได้

สำหรับองค์กรใดอยากจะสร้างคนที่มอบหมายหน้าที่เป็น Performance System Manager  โดยเฉพาะ ผมขอระบุคุณสมบัติเพื่อเป็นแนวทางคัดเลือกดังนี้

1. เข้าใจภาพรวม PerformanceManagement System

สำหรับงานด้านทรัพยากรบุคคล  ต้องเห็นภาพถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปะเมินผลว่าจะไปเกี่ยวเนื่องกับงานทางด้านการบริหารผลตอบแทน (Compensation & Benefit) และการพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Career Path) ของพนักงานอย่างไร  และมีความรู้ถึงรูปแบบการประเมินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ ซึ่งเครื่องมือปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนพัฒนา ตั้งแต่ MBO , KPIs ,OKR เลือกใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร

2. มีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ 

หลายท่านทำงานด้านทรัพยากรบุคคล ส่วนใหญ่แล้วมักเรียบจบสายสังคมศาสตร์  ถ้าเป็นตอนสมัยมัธยมมักจะเรียนสายศิลป์ สักส่วนใหญ่  ฉะนั้นเรื่องวิชาคณิตศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่สันทัดสำหรับหลายท่าน  แต่ถ้าท่านเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ดูแลงานด้านการประเมินผลการปฎิบัติงาน เป็นเรื่องท่านจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์อย่างยิ่งยวด  แต่ไม่ต้องถึงขั้นอัจฉริยะ ถอดสแควร์รูท อินทิเกรต  สมการถดถอย หลับตาคิดตัวเลขคำตอบได้ทันใด เพียงมีใจไม่ย้อท้อ มีพื้นฐานคิดค่าเปอร์เซ็นต์ , เฉลี่ย , สะสม บวกลบคูณหาร แบบ ธรรมดาได้ ส่วนกราฟหลักคือ กราฟระฆังคว่ำ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

3. มีความรอบคอบ

ลองคิดภาพถ้าท่านบวกผลคะแนนผิดพลาด ค่าคะแนนประเมินผลเพี้ยน ทำให้ค่าคะแนนผลประเมินพลาด ส่งผลให้ปรับเงินเดือนไม่สอดคล้องกับความจริงแล้วพนักงานมาทักท้วง แค่นี้ก็เหนื่อยแล้วกับการตามแก้ไขแล้ว

4. มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี หรือ โปรแกรมสำหรับเก็บข้อมูล 

เนื่องด้วยงานประเมินผลจะต้องมีการติดตามเก็บข้อมูลจากความเป็นจริง เหมือนงานวิจัยเล็กๆ จำนวนข้อมูลแต่ละตำแหน่งมีปริมาณพอสมควร   ฉะนั้นแล้วแต่ละองค์กรมีการลงทุนทางด้านโปรแกรมเพียงใด แล้วแต่ขนาดองค์กร บางแห่งยังเก็บบนกระดาษ , Excel , Access  ซึ่งสำหรับ Performance System Manager  ยิ่งมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีเยอะ ก็จะช่วยทุนแรงสำหรับการสรุปผลให้ทางพนักงานหรือผู้บริหารได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีโปรแกรมสำหรับประเมินผลการปฎิบัติงานขายเป็น On Cloud ราคาไม่แพงให้เลือกใช้ได้

5. มีทักษะการนำเสนอและยืนหยัดตามข้อมูลจริง 

สามารถอธิบายภาพรวมการประเมินผลแต่ละหน่วยงานได้อย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ เป็นไปตามความเป็นจริง เพราะอย่างที่เขียนไปข้างต้น ว่าผลของการประเมินจะต้องนำไปบริหารจัดการด้านการบริหารผลตอบแทน (Compensation & Benefit) และ การพัฒนาเส้นทางอาชีพ (Career Path)  อาจจะมีอำนาจมืดจากทางหัวหน้างานบางท่านมากดดันว่าขอเกรดเอ ยกโควตามาได้ไหม หรือ โต้แย้งให้ตนเองได้ประโยชน์ ฉะนั้นการนำเสนอแบบกระชับและชัดเจนจะช่วยให้ท่านทำงานผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งอีกอย่างที่ช่วยได้คือ รูปแบบรายงานจากโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การนำเสนอลุล่วงด้วยดี

 

ผู้เขียนขอยกข้อหลักๆ ตามนี้จากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มา  ซึ่งเพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านใดอยากมาทำงานด้านนี้อาจจะลองสำรวจว่าตนเองมีแต่ละข้อตามนี้ครบหรือไม่  ถ้าครบพร้อมไป มีใจทางด้านนี้  ก็ GO ON เลยครับ เพราะผู้เขียนเชื่อว่า มีใจอะไรก็พัฒนาได้ครับ

ผู้เขียน Boondiskji

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้